
ฟิล์มกรองแสงมีกี่ชนิด อะไรบ้าง?
ฟิล์มกรองแสงที่นิยมเอามาใช้ติดอาคารจะมีอยู่ 2 ชนิดหลักๆคือ
1. ฟิล์มโลหะ (Metallized) หรือที่เค้าเรียกว่า “ฟิล์มปรอท” นั่นแหละครับ แต่จริงๆแล้วไม่มีโรงงานประเทศไหนเอาสารปรอทมาใช้เคลือบฟิล์มนะครับ เค้าจะใช้โลหะชนิดอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ถ้าเป็นฟิล์มราคาถูกหน่อยก็อาจเป็นอลูมิเนียม ถ้าเกรดสูงหน่อยก็พวก Tungsten หรือ Ni-Chrome เป็นต้น แต่ไม่มีโลหะที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้แน่นอน
2. ฟิล์มเซรามิค หรือนาโน เซรามิค (Nano Ceramic) อันเดียวกันแหละครับ เป็นฟิล์มที่นำสารประกอบจากเซรามิคมาใช้เป็นตัวป้องกันความร้อน ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเลยจากฟิล์มโลหะก็คือ การสะท้อนแสง ลองนึกภาพโลหะที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน มันจะมีความแวววาวหรือที่เรียกว่าการสะท้อนแสงนั่นเอง ในขณะที่ฟิล์มเซรามิคจะมีการสะท้อนแสงต่ำ ติดออกมาแล้วดูไม่เป็นเงาสะท้อนนั่นเองครับ
ฟิล์มโลหะ VS ฟิล์มเซรามิค อันไหนกันร้อนดีกว่า?
ตอบแบบชัดๆดังๆตรงนี้เลยครับว่า ฟิล์มโลหะเป็นฟิล์มที่มีค่าป้องกันความร้อนจากแสงแดด (Total Solar Energy Rejected) สูงกว่าฟิล์มเซรามิคแน่นอนครับ ถ้าลูกค้าเปรียบเทียบคุณสมบัติจากยี่ห้อที่มีมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือของ Brand จริงๆ ลูกค้าจะได้ข้อมูลตรงกับที่ผมบอกแน่นอนครับ แต่ถ้าไปเจอเซรามิค Made in China แต่บอก USA เข้า อันนั้นอีกเรื่องนึง
ผมขออนุญาติเปรียบเทียบฟิล์มทั้ง 2 ชนิดให้ดู โดยใช้ตารางแสดงคุณสมบัติฟิล์มติดอาคารของ 3M ซึ่งเป็น Brand อันดับ 1 ที่ทั่วโลกรู้จักดี
คุณสมบัติฟิล์มกรองแสง 3M รุ่น Ceramic Ultra Clear (CM-IR Series)

จากตารางแสดงคุณสมบัติฟิล์มนาโนเซรามิครุ่น Ceramic Ultra Clear ของ 3M รุ่นที่มีความเข้มมากที่สุด (ดูที่ % แสงส่องผ่านน้อยที่สุด) คือรุ่น CM-IR 5 มีค่าลดพลังงานความร้อนรวมจากแสงอาทิตย์ (TSER : Total Solar Energy Rejected) เท่ากับ 63.9% นี่เป็นค่าการลดความร้อนจากแสงแดดสูงสุดที่ฟิล์มชนิดเซรามิคสามารถทำได้ครับ
ต่อไปเราลองมาดูตารางแสดงคุณสมบัติฟิล์มชนิดโลหะกันดูบ้าง
คุณสมบัติฟิล์มกรองแสง 3M รุ่น Reflective Series

จากตารางแสดงคุณสมบัติฟิล์มโลหะรุ่น Reflective Series ของ 3M รุ่น P18ARL มีค่า % แสงส่องผ่าน 17% มีค่าลดพลังงานความร้อนรวมจากแสงอาทิตย์ (TSER : Total Solar Energy Rejected) เท่ากับ 77%
สรุปคือฟิล์มโลหะรุ่น P18ARL ใสกว่าฟิล์มเซรามิครุ่น CM-IR 5 เยอะ (ค่า % แสงส่องผ่านมากกว่า) แต่กันร้อนจาดแสงแดดได้ 77% ชัดเจนนะครับว่าฟิล์มโลหะที่มีการสะท้อนแสงจะกันความร้อนจากแสงแดดได้สูงกว่าฟิล์มเซรามิคแน่นอนครับ
ตรงนี้ลูกค้าสามารถตรวจสอบจากฟิล์มกรองแสงยี่ห้ออื่นๆดูได้นะครับ ขอให้เป็น Brand ที่มีมาตรฐาน ผมรับรองว่าได้ข้อมูลไม่ต่างจากนี้แน่นอนครับ
ฟิล์มเซรามิคกันร้อนสูง 80-90% ความจริงคืออะไร?
คือการเอาจุดเด่นของฟิล์มเซรามิค ซึ่งเป็นฟิล์มที่มีการป้องกันรังสีอินฟราเรด (IR Rejected) ได้สูง มาบิดเบือนเป็นค่าการป้องกันความร้อนจากแสงแดด (TSER : Total Solar Energy Rejected) ซึ่งจริงๆมันเป็นคนละค่ากันครับ
Total Solar Energy Reject (TSER) แปลว่า การลดพลังงานแสงอาทิตย์รวม หรือจะแปลว่าการลดความร้อนจากแสงแดดก็ได้
Infrared Rejected (IR Rejected) แปลว่า การป้องกันรังสีอินฟราเรด
มันเป็นคนละค่า แปลเป็นไทยไม่เหมือนกันครับ
ลองดูตารางแสดงคุณสมบัติฟิล์มเซรามิคกันอีกที
คุณสมบัติฟิล์มกรองแสง 3M รุ่น Ceramic Ultra Clear (CM-IR Series)

ลองดูฟิล์มเซรามิคของ 3M รุ่น CM-IR 5 อีกทีครับ ดูที่ค่าการป้องกันรังสีอินฟราเรด จะได้ค่าที่ 95% ค่านี้แหละครับที่เค้าชอบเอามาทำโฆษณากันว่าเป็นค่าการลดความร้อน ที่เห็นบ่อยๆก็จะเขียนว่า “การป้องกันความร้อน (IR Rejected) 95%”
ย้ำอีกครั้งว่า IR Rejected ย่อมาจาก Infrared Rejected แปลเป็นไทยว่า “การป้องกันรังสีอินฟราเรด”
การป้องกันความร้อนจากแสงแดด เราต้องดูที่ค่า Total Solar Energy Rejected (TSER) ซึ่งสูงสุดที่ฟิล์มชนิดเซรามิคสามารถทำได้อยู่ที่ประมาณ 64-65% ครับ
สรุปคือฟิล์มโลหะ VS ฟิล์มเซรามิค อะไรดีกว่ากัน ควรเลือกใช้ชนิดไหน?
ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าฟิล์มเซรามิคไม่ดีและไม่ควรเลือกใช้นะครับ ทางเราเอง FilmtechPro ก็มีการติดตั้งฟิล์มชนิดเซรามิคให้กับลูกค้ามาแล้วหลายพันโครงการทั่วประเทศ เพียงแต่เป็นหน้าที่ที่เราต้องให้ข้อมูลสินค้าอย่างถูกต้อง ไม่มุ่งเน้นขายสินค้าที่มีราคาแพง (ปกติฟิล์มเซรามิคจะมีราคารวมค่าติดตั้งแพงกว่าฟิล์มโลหะ)
มันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานครับ จุดเด่นของฟิล์มเซรามิคคือ มันเป็นฟิล์มที่มีการสะท้อนแสงต่ำ เหมาะกับงานที่ไม่ควรใช้ฟิล์มที่มีการสะท้อนแสงจนไปกระทบกับอาคารข้างเคียง หรือใช้กับงานพวกโชว์รูม ร้านอาหาร ร้านกาแฟหรือคลินิก ที่ต้องการติดฟิล์มเพื่อช่วยลดความร้อน แต่ยังต้องการให้คนภายนอกมองเข้าไปเห็นกิจกรรมที่ทำอยู่ข้างในเป็นต้น เพราะฟิล์มโลหะมันสะท้อนแสงและมองผ่านเข้าไปได้ยากกว่าไงครับ
ดังนั้นการเลือกใช้ฟิล์มกรองแสง ไม่ได้หมายถึงการเลือกฟิล์มรุ่นที่แพงที่สุดแล้วจะดีที่สุดสำหรับเราเสมอไปครับ อย่างเช่นถ้าเราต้องการติดฟิล์มกรองแสงเพื่อช่วยลดความร้อนภายในบ้าน แต่เราไปเลือกฟิล์มนาโนเซรามิคชนิดใส (TSER ประมาณ 50%) ราคา 200-300 บาทต่อตารางฟุตมาติด ทั้งๆที่ฟิล์มที่เหมาะสมกว่า มันควรเป็นฟิล์มโลหะดีๆที่ราคาไม่เกิน 100 บาท แต่ช่วยลดความร้อนอย่างได้ผลมากกว่า อย่างนี้เป็นต้น